This version of the page http://www.voathai.com/a/diet-genetics/3422527.html (0.0.0.0) stored by archive.org.ua. It represents a snapshot of the page as of 2016-08-01. The original page over time could change.
ไขปริศนาการลดน้ำหนักอย่างได้ผล... ขึ้นอยู่กับ "อาหารที่เลือกทาน และ พันธุกรรม"

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

  • ข้ามไปเนื้อหาหลัก
  • ข้ามไปหน้าหลัก
  • ข้ามไปที่การค้นหา
เลือกภาษา
สุขภาพ

ไขปริศนาการลดน้ำหนักอย่างได้ผล... ขึ้นอยู่กับ "อาหารที่เลือกทาน และ พันธุกรรม"


  • แบ่งปันทาง Facebook
  • แบ่งปันทาง Twitter
  • แบ่งปันทาง Google+
  • ส่งอีเมลล์ถึงเพื่อน

ผลการศึกษาชิ้นใหม่พบว่าพันธุกรรมของคนเราแต่ละคนที่มีบทบาทกำหนดว่าอาหารประเภทใดที่ช่วยลดน้ำหนักของคุณได้ผล

ทีมนักวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ ใช้หนูทดลองที่เกิดจากการผสมพันธุ์ขึ้นโดยเฉพาะ ในการทดสอบประสิทธิภาพของอาหารลดความอ้วนแต่ละอย่าง เพื่อดูว่าอาหารสูตรใดที่ช่วยลดความอ้วนได้ผล และอาหารลดความอ้วนสูตรใดที่ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ

ทีมนักวิจัยใช้หนูทดลองที่เกิดจากการผสมพันธุ์เป็นพิเศษนี้ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีประเภทพันธุกรรมที่พบในประชากรหนูทั่วไปส่วนใหญ่ ทีมนักวิจัยพบว่าอาหารบางอย่างที่ให้หนูกินมีผลให้น้ำหนักตัวลดลงในหนูบางตัว แต่กลับไม่มีผลอะไรต่อหนูบางตัว หรือมีผลให้สุขภาพของหนูบางตัวย่ำแย่ลง

คุณ William Barrington เป็นนักพันธุกรรมวิทยาที่มหาวิทยาลัย North Carolina State University และเป็นสมาชิกทีมวิจัยทีมนี้ กล่าวกับผู้สื่อข่าววีโอเอว่า ทีมนักวิจัยค้นพบว่าประเภทของอาหารในการช่วยลดน้ำหนักจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของคนที่รับประทานอาหารประเภทนั้น

เขากล่าวว่าอาหารลดน้ำหนักสูตรหนึ่งอาจได้ผลดีกับเพื่อนของคุณ แต่อาจจะมีให้ผลลัพธ์ที่ต่างไปกับตัวคุณ

หนูทดลองที่มีสายพันธุ์ที่เหมือนกันหลายกลุ่มได้รับอาหารต่างชนิดกันเป็นเวลานาน 6 เดือน โดยหนูทดลองกลุ่มที่หนึ่งได้รับอาหารแบบชาวตะวันตกที่มีไขมันสูง ส่วนหนูกลุ่มที่สองกินอาหารแบบชาวตะวันออกกลาง กลุ่มที่สามได้รับอาหารญี่ปุ่นที่มีข้าวและชาเขียวในปริมาณสูง และหนูกลุ่มสุดท้ายกินอาหารที่มีปริมาณแป้งต่ำแต่ไขมันสูงที่เรียกกันว่า ketogenic และหนูทดลองกลุ่มควบคุมกินอาหารธรรมดาทั่วไป

หนูทดลองทุกกลุ่มกินอาหารได้มากเท่าที่มันอยากกิน เเละทีมนักวิจัยจดบันทึกเอาไว้ว่าหนูทดลองกินอาหารในปริมาณมากแค่ไหน กับสุขภาพโดยทั่วไปของหนู รวมทั้งอาการต่างๆที่ชี้ว่าจะเป็๋นเบาหวาน (pre-diabetes) โรคอ้วน และโรคไขมันสะสมในตับ

ผลการศึกษานี้สร้างความประหลาดใจเเก่ทีมนักวิจัย หนูทดลองสายพันธุ์หนึ่งเริ่มมีปัญหาทางสุขภาพจากการกินอาหารแบบตะวันตกที่มีไขมันสูง ในขณะที่หนูอีกสายพันธุ์หนึ่งได้รับผลกระทบทางสุขภาพน้อยกว่า และอีกสายพันธุ์หนึ่งไม่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจากการกินอาหารแบบตะวันตกแต่อย่างใด

คุณ Barrington กล่าวว่ามีหนูทดลองบางตัวที่ไม่ว่าจะให้กินอาหารแบบใดก็ตาม กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อน้ำหนักตัว หนูกลุ่มนี้จะยังมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานเล็กน้อยไม่ว่าจะกินอะไรเป็นอาหารก็ตาม

ทำให้เชื่อว่าอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผลในการช่วยลดน้ำหนักในคนบางคน อาจจะไม่มีผลใดใดต่อคนอีกคนหนึ่ง

คุณ Barrington ย้ำว่า อาจเป็นไปได้ในอนาคตที่จะสามารถจับคู่อาหารบางอย่างบางชนิดเข้าด้วยกันเพื่อให้ในการลดน้ำหนักคนบางกลุ่มอย่างได้ผล

เขากล่าวว่า ผลการศึกษานี้กระตุ้นให้นักวิจัยหาทางยืนยันว่ามีปัจจัยทางพันธุกรรมอะไรที่มีบทบาทส่งเสริมประสิทธิภาพของประเภทอาหารลดน้ำหนัก และเพื่อช่วยพยากรณ์ได้ว่าอาหารลดน้ำหนักแบบใดได้ผลดีที่สุดในการลดน้ำหนักของคนแต่ละคน

เเนวคิดนี้เรียกว่า โภชนาการบำบัดแบบตรงเป้าหมาย โดยเเพทย์สามารถใช้การทดสอบทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดว่าอาหารที่คุณรับประทานมีผลต่อน้ำหนักตัวและสุขภาพที่ดีหรือไม่

ทีมนักวิจัยทีมนี้ได้นำเสนอผลการศึกษาดังกล่าวในการประชุมของสมาคม Genetics Society of America ไปเมื่อไม่นานมานี้

(รายงานโดย Jessica Berman เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

เกี่ยวข้อง

  • "ความคิด vs ความจริง" คุณค่าทางอาหารกับความเห็นที่ไม่ตรงกันของนักโภชนาการกับคนทั่วไป

  • "D กับหัวใจ" งานวิจัยพบทานวิตามินดีทุกวันอาจช่วยผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้

  • เคล็ดไม่ลับ... กับสูตรลดน้ำหนักโดยไม่สูญเสียกล้ามเนื้อ

  • 'โรคขาดสารอาหาร - โรคอ้วน' ความท้าทายด้านโภชนาการของประเทศแถบเอเชียอาคเนย์

  • ปัญหาขาดอาหารและโรคอ้วนในเด็กทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะรุนแรงขึ้น

  • ภาพข่าว 31 ก.ค. 2559

  • ย้อนนาทีประวัติศาสตร์ 'ฮิลลารี คลินตัน' ผู้แทนพรรคฯหญิงชิง ปธน.คนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ

คุณอาจสนใจในเรื่องนี้

  • วิถีชีวิต-สิ่งแวดล้อม

    WMO ระบุปี 2016 นี้น่าจะกลายเป็นปีที่ร้อนที่สุดตั้งเเต่เคยบันทึกสถิติมา

  • วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

    วิทยาศาสตร์ว่าด้วยกลิ่น!! บริษัทเทคโนโลยีกำลังแข่งขันพัฒนา "จมูกอิเลคทรอนิคส์"

  • วิถีชีวิต-สิ่งแวดล้อม

    คนรุ่นใหม่กับกระแสการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมการทำงาน... "8 ชม." อาจมากเกินไป!!

Back to top
XS
SM
MD
LG