This version of the page http://www.voathai.com/a/new-frog/3161215.html (0.0.0.0) stored by archive.org.ua. It represents a snapshot of the page as of 2016-09-17. The original page over time could change.
นักวิจัยอินเดียค้นพบกบต้นไม้ที่เคยเชื่อว่าสาบสูญไปนานแล้ว

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

  • ข้ามไปเนื้อหาหลัก
  • ข้ามไปหน้าหลัก
  • ข้ามไปที่การค้นหา
เลือกภาษา
วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

นักวิจัยอินเดียค้นพบกบต้นไม้ที่เคยเชื่อว่าสาบสูญไปนานแล้ว


A Dendrobates leucomelas frog is pictured at a terrarium in Caracas November 30, 2015.

  • แบ่งปันทาง Facebook
  • แบ่งปันทาง Twitter
  • แบ่งปันทาง Google+
  • ส่งอีเมลล์ถึงเพื่อน

กบชนิดนี้มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างแปลกกว่าปกติ รวมทั้งตัวลูกกบที่กินไข่ของแม่กบเป็นอาหาร

นักวิทยาศาสตร์เคยพบเห็นกบพันธุ์นี้ครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1870 กบพันธุ์นี้มีชื่อว่า Frankixalus jerdonii เป็นกบต้นไม้ อาศัยในป่าที่เชิงเขาของหุบเขาหิมาลัยในรัฐเบงกอลของอินเดีย

กบพันธุ์นี้มีขนาดเท่าลูกกอล์ฟ ถูกค้นพบอีกครั้งโดยทีมเดินป่าที่นำโดยคุณ Sathyabhama Das Biju นักชีววิทยาชาวอินเดียในปีค.ศ. 2007

คุณ Biju นักชีววิทยาชาวอินเดียบอกว่า ทีมเดินป่าได้ยินเสียงร้องไพเราะเหมือนเสียงเพลงออเคสตร้า ดังมาจากยอดต้นไม้ในป่าจุดดังกล่าว เสียงร้องเพราะมาก จนทีมเดินป่าต้องหยุดและเสาะหาต้นตอของเสียงร้อง

คุณ Biju ใช้การวิเคราะห์ทางดีเอ็นเอช่วยในการศึกษานี้ เขาสรุปว่าการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากบรรพบุรุษที่ลึกลับซับซ้อนของกบพันธุ์นี้ หมายความว่า กบชนิดใหม่ที่พบนี้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ใกล้เคียงหรือกลายมาจากสายพันธุ์ดั้งเดิม

คุณ Biju กล่าวว่าระหว่างการออกสำรวจภาคสนาม ทีมนักวิจัยเห็นกบชนิดนี้มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างแปลกกว่าปกติ รวมทั้งตัวลูกกบที่กินไข่ของแม่กบเป็นอาหาร

การศึกษาพบว่าลูกกบมีไข่กบอยู่ในลำใส้ราว 3-19 ฟองและไม่มีฟัน ทำให้แตกต่างจากกบต้นไม้สายพันธุ์อื่นๆ มากขึ้นไปอีก

คุณ Ines Van Bocxlaer ผู้ร่วมร่างรายงานเกี่ยวกับกบพันธุ์ใหม่กล่าวกับ National Geographic ว่า ดีเอ็นเอของกบพันธุ์นี้ นิสัยการกินที่แปลกประหลาด และลักษณะทางกายภาพของมัน แสดงให้เห็นว่ากบพันธุ์นี้แตกต่างอย่างมากด้านการวิวัฒนาการของกบต้นไม้

เกี่ยวข้อง

  • รองเท้าอัจฉริยะ...เทคโนโลยีใหม่สำหรับคนชีพจรลงเท้า

  • กระเป๋าเดินทางแบบไม่ต้องลาก "Smart Luggage" ถูกใจคนพะรุงพะรัง!

  • นักดาราศาสตร์ระบุหลุมดำก็เป็นโรคท้องอืดท้องเฟ้อได้เหมือนกัน !?

  • กระจุกดาวทรงกลมไกลโพ้นน่าจะเป็นจุดที่ดีที่สุดในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก

  • นักวิทยาศาสตร์คำนวณพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่อาจจะมาแทนดาวพลูโต

  • ภาพข่าว 15 ก.ย. 2559

  • ภาพนางอองซานซูจีเยือนสหรัฐฯ

คุณอาจสนใจในเรื่องนี้

  • ธุรกิจ

    ธุรกิจ: สินค้ารถยนต์รั้งการเติบโตของยอดค้าปลีกสหรัฐฯ เดือนสิงหาคม

  • สุขภาพ

    การใช้ 'ยาต้านเชื้อจุลินทรีย์' มากเกินไปกำลังเป็นภัยคุกคามทั้งต่อมนุษย์และสัตว์

  • สุขภาพ

    คนอเมริกันรวมตัวคัดค้านการใส่ชื่อ "ใบกระท่อม" ในรายการสารเสพติดควบคุม

Back to top
XS
SM
MD
LG