This version of the page http://www.voathai.com/a/locust-ro/3199373.html (0.0.0.0) stored by archive.org.ua. It represents a snapshot of the page as of 2016-04-15. The original page over time could change.
คณิตศาสตร์สูตรใหม่ช่วยไขวิธีทำลายฝูงตั๊กแตนที่เป็นภัยต่อพื้นที่เกษตร

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

  • ข้ามไปเนื้อหาหลัก
  • ข้ามไปหน้าหลัก
  • ข้ามไปที่การค้นหา
เลือกภาษา
วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

คณิตศาสตร์สูตรใหม่ช่วยไขวิธีทำลายฝูงตั๊กแตนที่เป็นภัยต่อพื้นที่เกษตร


A locust devouring vegetation in Morocco, July 2004. ©FAO/Giampiero Diana

  • แบ่งปันทาง Facebook
  • แบ่งปันทาง Twitter
  • แบ่งปันทาง Google+
  • ส่งอีเมลล์ถึงเพื่อน

แนวทางดังกล่าวรวมถึงการใช้เครื่องบินก่อกวนฝูงแมลงไม่ให้บินรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่

Locust Control (3:27)
Locust Control
0:00:00
Direct link
  • MP3 - 128 kbps | 3.2MB
  • MP3 - 64 kbps | 1.6MB

เกษตรกรและนักกำจัดแมลงในอาร์เจนตินากำลังพยายามปราบปรามการทำลายพืชผลโดยตั๊กแตนครั้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 50 ปี

ตั๊กแตนฝูงมหึมาหลายร้อยล้านตัวสามารถสร้างความเสียหายทางการเกษตรมูลค่ามหาศาลได้ในพริบตา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์จะหมดประโยชน์สำหรับการเป็นแหล่งอาหารของวัวจำนวนมาก หลังจากโดนทำลายโดยแมลงเหล่านี้

ที่ผ่านมาเกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงปราบศัตรูพืชเหล่านี้ ตั้งแต่ก่อนที่พวกมันจะก่อตัวเป็นกลุ่มตั๊กแตนฝูงใหญ่ อย่างไรก็ตามในประเทศยากจน เช่น บางประเทศในแอฟริกา อเมริกาใต้และเอเชีย เกษตรกรไม่มีความพร้อมและทุนทรัพย์ในการใช้วิธีป้องกันดังกล่าว

ขณะนี้คณะนักวิจัยจากอังกฤษ พยายามอธิบายพฤติกรรมของฝูงตั๊กแตนด้วยสูตรคณิตศาสตร์ และอาจนำไปสู่การวางแผนความคุมการย้ายถิ่นของฝูงตั๊กแตน หนึ่งในวิธีป้องกันอาจรวมถึงการรบกวนแมลงกลุ่มใหญ่ด้วยเครื่องบินเพื่อทำให้ฝูงแตก

ในการศึกษาครั้งนี้ นักวิจัยจัดกลุ่มตั๊กแตนเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มใหญ่ ลงในพื้นที่วงกลมขนาดเล็ก และดูพฤติกรรมของพวกมัน

หนึ่งในกลุ่มผู้วิจัย Christian Yates จากมหาวิทยาลัย Bath กล่าวว่า ขณะที่กลุ่มแมลงเข้ารุมเป็นฝูงใหญ่ พวกมันมักบินในทิศทางเดียวกันกับแมลงตัวใกล้เคียง แต่เมื่อพวกมันเปลี่ยนทิศทางการบิน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และทำร่วมกันเป็นกลุ่ม

เขาบอกว่ามีแมลงบางตัวที่ไม่สนใจเพื่อนร่วมฝูง แต่พฤติกรรมจะเปลี่ยนทันทีถ้าเพิ่มจำนวนแมลงในพื้นที่ที่จัดไว้ เพราะหลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์เห็นความพร้อมเพรียงในการเปลี่ยนทิศทางการบิน ไม่ว่าจะเป็นการบินตาม หรือทวนเข็มนาฬิกา

การทดลองชี้ว่า พฤติกรรมของตั๊กแตนเปลี่ยนไป แม้เพิ่มจำนวนเพื่อนร่วมฝูงไม่มาก เขากล่าวว่าทิศทางการบินของแมลงสองตัวแรกจะมีผลต่อแมลงตัวที่สามอย่างเห็นได้ชัด

Christian Yates กล่าวว่า ตามธรรมชาติตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวต่อความไม่แน่นอน และหากว่าเกษตรกรใช้เครื่องบิน บินก่อกวนเพื่อสร้างความปั่นป่วน กลุ่มแมลงขนาดใหญ่อาจแตกฝูงได้ อีกวิธีที่สร้างความปั่นป่วนได้อาจใช้สัญญาณอัลตร้าโซนิค

อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันฝูงตั๊กแตนขนาดใหญ่ ก่อนพวกมันเข้าทำลายผลผลิตการเกษตร อย่างที่เห็นในอาร์เจนติน่า คือตัดตอนการแพร่พันธุ์ตั้งแต่แรก

(รายงานโดย Deborah Block/ เรียบเรียงโดย รัตพล อ่อนสนิท)

เกี่ยวข้อง

  • นักวิจัยอเมริกันพบว่า "Bed Bug" หรือตัวเรือดพบตามที่นอน ดื้อต่อยาฆ่าแมลง

  • นักวิทยาศาสตร์เร่งศึกษาสลัมไนโรบีค้นหาต้นตอการแพร่ระบาดของซูเปอร์บัคส์

  • เรียนรู้การเป็นผู้นำที่ดีจากพฤติกรรม 4 แบบของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

  • ผู้บริโภคอเมริกันกดดันให้เกษตรกรปศุสัตว์ลดใช้ยาปฏิชีวนะในสัตว์ที่แข็งแรง

  • ภาพข่าว 14 เม.ย 2559

  • ภาพข่าว 13 เม.ย 2559

คุณอาจสนใจในเรื่องนี้

  • สุขภาพ

    สหรัฐฯ เตรียมรับมือการระบาดของเชื้อไวรัส Zika ในช่วงฤดูร้อนปีนี้

  • ธุรกิจ

    ธุรกิจ: IMF เตือนถึงอัตราหนี้ในประเทศพัฒนาแล้ว

  • ธุรกิจ

    ธุรกิจ: Facebook เปิดตัว Chatbot ในบริการส่งข้อความ Messenger

Back to top
XS
SM
MD
LG