This version of the page http://www.voathai.com/a/elephant-ro/3009278.html (0.0.0.0) stored by archive.org.ua. It represents a snapshot of the page as of 2016-04-15. The original page over time could change.
นักวิจัยชี้ดีเอ็นเอช้างอาจช่วยไขปริศนาการรักษาโรคมะเร็ง

ลิ้งค์เชื่อมต่อ

  • ข้ามไปเนื้อหาหลัก
  • ข้ามไปหน้าหลัก
  • ข้ามไปที่การค้นหา
เลือกภาษา
สุขภาพ

นักวิจัยชี้ดีเอ็นเอช้างอาจช่วยไขปริศนาการรักษาโรคมะเร็ง

  • Jessica Berman

Commuters stop their vehicles and watch a wild male elephant, who got separated from his herd, cross a highway on the outskirts of Gauhati, India, Thursday, Aug. 20, 2015.

  • แบ่งปันทาง Facebook
  • แบ่งปันทาง Twitter
  • แบ่งปันทาง Google+
  • ส่งอีเมลล์ถึงเพื่อน

ช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่หยุดเซลล์มะเร็งมากกว่ามนุษย์ถึง 20 เท่า และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิธีต้านมะเร็งในมนุษย์

ช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่หยุดเซลล์มะเร็งมากกว่ามนุษย์ถึง 20 เท่า (3:20)
ช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่หยุดเซลล์มะเร็งมากกว่ามนุษย์ถึง 20 เท่า
0:00:00
Direct link
  • MP3 - 128 kbps | 3.1MB
  • MP3 - 64 kbps | 1.5MB

ตามปกติสัตว์ขนาดใหญ่มีจำนวนเซลล์มากกว่าสัตว์พันธุ์ที่เล็กกว่า โอกาสที่เซลล์จะเกิดความผิดปกติจึงมีมากกว่าตามสัดส่วนของจำนวนเซลล์ แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ศึกษาโรคมะเร็งในช้างซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่ พวกเขาแปลกใจว่าเหตุใดช้างจึงมีความเสี่ยงน้อยกว่ามนุษย์มากต่อการเป็นมะเร็ง คือเพียงแค่ร้อยละ 5 เท่านั้น เทียบกับร้อยละ 11 ถึง 25 ในมนุษย์

นักวิจัยพบว่าช้างมีหน่วยพันธุกรรมที่ชื่อ p53 ซึ่งสามารถระงับการเกิดมะเร็งได้ จำนวน 20 หน่วยพันธุกรรม ส่วนมนุษย์นั้นมียีน p53 เพียงแค่หน่วยเดียวเท่านั้น

Wendy Kiso นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ช้าง จาก Ringling Brothers Center for Elephant Conservation เขียนหนังสือเกี่ยวกับการทำงานของหน่วยพันธุกรรมนี้ในช้าง เธอและผู้ร่วมงานที่มหาวิทยาลัย Utah และที่สวนสัตว์ Hogel ในสหรัฐฯ ศึกษาเซลล์เม็ดเลือดขาวของช้างเอเชีย ที่นำมาเปรียบเทียบกับเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์

Wendy Kiso กล่าวว่านักวิจัยในทีมของเธอดูว่าเซลล์ของช้างเอเชียเหล่านี้มีปฏิกิริยาตอบรับอย่างไร เมื่อถูกฉายรังสีที่ตามปกติจะเป็นการกระตุ้นในเกิดมะเร็ง วิธีนี้ผู้วิจัยสามารถรู้ถึงการทำงานของหน่วยพันธุกรรม p53 อย่างใกล้ชิด

An Indian forest official rides an elephant and pulls the carcass of a female one-horned rhino killed in the recent flood situation in northeastern state of Assam, at Pobitora Wildlife Sanctuary, about 55 kilometers (34 miles) east of Gauhati, India, Sund

คณะผู้ทดลองพบว่ายีน p53 ช่วยให้เซลล์ที่มีความเสี่ยงเป็นเซลล์มะเร็งลดลงสองเท่า เพราะสามารถหยุดยั้งความผิดปกติไม่ให้พัฒนาต่อไปในทางที่อันตราย

การค้นพบจากงานวิจัยนี้อาจสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรค Le-Fraumeni Syndrome ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยที่มาจากพันธุกรรม ซึ่งทำให้เด็กที่เกิดมาพร้อมกับโรคนี้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งถึงร้อยละ 90

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง Joshau Schiffman จากสถาบัน Huntsman Cancer Institute ที่มหาวิทยาลัย Utah ที่ร่วมค้นคว้าในงานวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า ขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกกำลังพยายามศึกษาว่าจะใช้ประโยชน์จากหน่วยพันธุกรรม p53 ในช้างต่อมนุษย์ในด้านใดได้บ้าง

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าควรมีการศึกษาเพิ่มติมต่อในหัวข้อนี้ในอนาคต และตั้งข้อสังเกตว่า หากช้างไม่มียีน p53 มากมายอย่างที่เป็นอยู่ เผ่าพันธุ์ของมันน่าจะสูญพันธุ์จากโลกนี้ไปเรียบร้อยแล้ว

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Journal of American Medical Association

(รายงานโดย Jessica Berman / เรียบเรียงโดยรัตพล อ่อนสนิท)

เกี่ยวข้อง

  • การลักลอบล่าช้าง กลุ่มติดอาวุธ และภาวะโลกร้อนคุกคามจำนวนช้างป่าในมาลี

  • นักวิทยาศาสตร์พบดีเอ็นเอในงาช้างช่วยระบุที่มาของงาช้าง

  • แตรไล่ช้าง! ชาวยูกันดาใช้วูวูเซล่าไล่ช้างไม่ให้เข้าหมู่บ้านและบุกรุกที่ทำกิน

  • CITES ชี้ว่ามีช้างป่าอาฟริกามากกว่าสองหมื่นเชือกถูกล่าทุกปีทั่วทวีปอาฟริกา

  • ไซยาไนด์ทำให้ช้างป่าตายหลายร้อยตัวในซิมบับเวและสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยา

  • ภาพข่าว 14 เม.ย 2559

  • ภาพข่าว 13 เม.ย 2559

คุณอาจสนใจในเรื่องนี้

  • วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

    สายพันธุ์ยอดมนุษย์!? งานวิจัยพบดีเอ็นเอพิเศษในบุคคลลึกลับ 13 คนทั่วโลก

  • วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

    "Virtual Reality" คลื่นลูกใหม่ของวงการไฮเทคกับการสร้างประสบการณ์ดิจิตอลเสมือนจริง

  • วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี

    นักโบราณคดีอ้างหินลึกลับทรงกลมในบอสเนียมาจากอารยธรรมเก่าแก่กว่าหมื่นปี

Back to top
XS
SM
MD
LG